โทร 044-233000 ต่อ 5296

1) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)

1.1 ปรัชญา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมเป็นหลักสูตรที่รวมโครงสร้างศาสตร์การเรียนรู้หลายด้านเข้าด้วยกัน ทั้งทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีที่ถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับวิทยาการทางการเกษตรอย่างกลมกลืน ซึ่งโครงสร้างหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม นํามาสู่การผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญทางด้านนั้น ๆ ความโดดเด่นของรายวิชาจะประกอบไปด้วยการหลอมรวมโครงสร้างที่มีทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กันเพื่อยกระดับศักยภาพเน้นการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ทางด้านการเกษตรและแก้ไขวิกฤติการณ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน

1.2 ความสำคัญ

วิศวกรรมพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมเป็นงานทางด้านการประยุกต์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยดําเนินงาน ทรัพยากรต่าง ๆ และปฏิสัมพันธ์ระหว่างการดําเนินงานและทรัพยากร เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์การดําเนินงาน ด้วยทรัพยากรที่มีอยู่อย่างมีประสิทธิภาพ โดยใช้หลักการและวิธีการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการเป็นนักปฏิบัติทางวิศวกรรม ที่คำนึงถึงบริบทพื้นที่และผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม โดยวิทยาการพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมจะมุ่งเน้นที่การพัฒนาพลังงานทดแทนในรูปแบบต่างๆ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม และพลังงานจากชีวมวล ฯ ให้สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อช่วยประหยัดพลังงานและช่วยลดค่าใช้จ่าย โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการพึ่งพาพลังงานจากแหล่งในท้องถิ่นและภายในประเทศ สามารถผลิตและใช้พลังงานอย่างยั่งยืนซึ่งจะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดการททำลายทรัพยากรที่กําลังเกิดขึ้นอย่างมากมายและรุนแรงในปัจจุบัน ช่วยรักษาสมดุลของธรรมชาติอันเป็นภัยคุกคามอย่างร้ายแรงต่อโลก และมนุษยชาติ เชื่อว่าพลังงานทดแทนจะเป็นหนทางหนึ่งของการแก้ไขวิกฤตการณ์ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของโลกได้ การศึกษาและวิจัยเหล่านี้ล้วนนํามาซึ่งการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพกระบวนการผลิตพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถผลิตพลังงานทดแทนได้ในที่ปริมาณเพียงพอและมีคุณภาพทัดเทียมกับต่างประเทศนํามาซึ่งการลดการนําเข้าพลังงานเชื้อเพลิงจากต่างประเทศได้ ดังนั้นสาขาวิชาวิศวกรรมพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมนี้จะมีความเข้มข้นทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติโดยมุ่งเน้นผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความเชี่ยวชาญทางด้านวิศวกรรมพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม สามารถนําพลังงานทดแทนที่มีอยู่ในท้องถิ่น รวมทั้งความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปประยุกต์ใช้กับชุมชน การทำการเกษตร และอุตสาหกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์ พลังงานของประเทศและโลกตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนและตระหนักถึงการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์และประเมินผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมด้วย

1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.3.1 เพื่อผลิตวิศวกรที่มีความรู้ ความสามารถ ในการใช้หลักวิชาเพื่อแก้ปัญหาในด้านวิศวกรรมพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และสามารถนําความรู้มาประยุกต์ใช้ในงานวิศวกรรมพลังงานทดแทนและสิ่งแวดล้อมได้เป็นอย่างดี มีประสิทธิภาพ รวมทั้งไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่น เพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนและลดต้นทุนในการใช้จ่ายเกี่ยวกับพลังงาน และตระหนักถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อม และผลกระทบสิ่งแวดล้อมตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืน

1.3.2 เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานและการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า รวมทั้งพัฒนาและสนับสนุนให้มีการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาดมากขึ้น เพื่อเสริมสร้างความมั่นคง

ด้านพลังงานอย่างยั่งยืนและยังช่วยลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกซึ่งเป็นปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อม

1.3.3 เพื่อฝึกฝนให้มีความคิดริเริ่ม มีกิจนิสัยในการค้นคว้าปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอสามารถแก้ปัญหาด้วยหลักการและเหตุผล ปฏิบัติงานด้วยหลักวิชาที่มีการวางแผนและควบคุมอย่าง

รอบคอบซึ่งจะก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างประหยัดรวดเร็วและมีคุณภาพ

1.3.4 เพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความมีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ความขยันหมั่นเพียร ความสํานึกในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ การทำหน้าที่เป็นพลเมืองดีมีความรับผิดชอบต่อ

หน้าที่ วิชาชีพ และสังคม

1.3.5 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีมนุษยสัมพันธ์และมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีทักษะในด้านการทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถบริหารจัดการการทำงานได้อย่างเหมาะสม และเป็นผู้มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน

1.3.6 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการติดต่อสื่อสาร ใช้ภาษาไทย ภาษาต่างประเทศ และศัพท์ทางเทคนิคในการติดต่อสื่อสาร รวมถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้เป็นอย่างดี

1.4 อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1.4.1 วิศวกร/นักวิชาการ/นักวิจัย/ผู้ปฏิบัติงานด้านพลังงาน พลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน

1.4.2 ผู้เชี่ยวชาญ/ผู้ตรวจสอบการใช้พลังงานและอนุรักษ์พลังงาน รวมถึงการจัดการด้านพลังงาน

ในอาคารและโรงงาน

1.4.3 พนักงานรัฐ/รัฐวิสาหกิจเกี่ยวกับงานด้านพลังงานทดแทน

1.4.4 เจ้าของสถานประกอบการ/บริษัทเอกชนที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีพลังงาน/พลังงานทดแทน

1.4.5 ผู้ออกแบบและควบคุมระบบบําบัดมลพิษ ระบบระบายน้ำ ตรวจวัดคุณภาพน้ำ อากาศ และดิน

1.4.6 หน่วยงานรัฐ/รัฐวิสาหกิจ เช่น กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมชลประทาน การประปานครหลวง การประปาส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ฯลฯ

1.4.7 หน่วยงานเอกชน เช่น ผู้ควบคุมระบบบําบัดมลพิษ งานประเมินด้านผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม งานบริหารจัดการระบบมาตรฐานคุณภาพสิ่งแวดล้อม ผู้ควบคุมและออกแบบระบบการผลิตและจ่ายน้ำประปา

1.4.8 นักวิจัยและพัฒนา/นักวิชาการ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสิ่งแวดล้อม

1.5 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาช่างอุตสาหกรรม หรือสาขาอื่น ๆ ที่เทียบเท่าที่กรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วว่ามีคุณสมบัติเหมาะสมๆ ที่เทียบเท่าที่กรรมการบริหารหลักสูตรพิจารณาแล้วว่ามีคุณสมบัติเหมาะสม

2) หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะ (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)

1.1 ปรัชญา

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะเป็นหลักสูตรที่รวมโครงสร้างศาสตร์การเรียนรู้หลายด้านเข้าด้วยกัน ทั้งทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่ถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับวิทยาการทางการเกษตรอย่างกลมกลืน ซึ่งโครงสร้างหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะ นํามาสู่การผลิตบัณฑิตที่มีทักษะและความเชียวชาญด้านนั้นๆ ความโดดเด่นของรายวิชาจะประกอบไปด้วยการหลอมรวมโครงสร้างที่มีทฤษฎี และปฏิบัติควบคู่กัน เพื่อยกระดับศักยภาพเน้นการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ในทางการเกษตร

1.2 ความสำคัญ

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะ เป็นหลักสูตรที่ทันสมัยนํามาซึ่งการพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์ นวัตกรรมและเทคโนโลยี พร้อมที่จะยกระดับและขยายขีดความสามารถการแข่งขันในภาคการผลิตและบริการทางด้านการเกษตร และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนไปพร้อมๆ กัน ซึ่งทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลาร้องไห้ ได้เล็งเห็นความสำคัญ การประยุกต์ใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่สำหรับการเกษตร เพื่อสร้างโอกาส ควบคู่ไปกับการสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นให้กับประชาชนในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ จึงมีความต้องการที่จะผลิตบัณฑิตด้านวิศวกรรมเทคโนโลยีพร้อมทั้งผนวกเข้ากับวิทยาการทางด้านการเกษตรที่ทรงประสิทธิภาพ เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติที่มีความรู้ ทักษะและความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีสำหรับการประยุกต์ใช้ในฟาร์ม อีกทั้งหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะ มีความสอดคล้องกับคลัสเตอร์ของมหาวิทยาลัยด้าน Agriculture Technology ประกอบด้วย การเกษตรอินทรีย์ การเกษตรนอกฤดูเพาะปลูก การบริหารจัดการน้ำ และ พลังงานทดแทน และยังสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัย ด้านการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติบนพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีคุณภาพตามมาตรฐาน ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการอีกด้วย

1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.3.1 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรมจริยธรรม มีระเบียบวินัย ความซื่อสัตย์สุจริต ขยันหมั่นเพียรเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีความสํานึกในจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และสังคม

1.3.2 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะความรู้ความสามารถ และเจตคติที่ดีทางด้านการบริหารจัดการฟาร์มเกษตร โดยเฉพาะการนําเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ มาประยุกต์ใช้ในการทำฟาร์มเกษตร เพื่อยกระดับมาตรฐานผลผลิตทางการเกษตรให้ดียิ่งขึ้น

1.3.3 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีทักษะในการออกแบบ วางแผน และการบริหารจัดการระบบฟาร์มอัจฉริยะให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมและบริบทของชุมชน

 

1.3.4 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับฟาร์มอัจฉริยะทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติมีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถนําความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้และแก้ปัญหาในการประกอบอาชีพได้อย่างเหมาะสม

1.3.5 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความใฝ่รู้ รักในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ

1.4 อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1.4.1 บุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านฟาร์มอัจฉริยะของหน่วยงานรัฐหรือเอกชน

1.4.2 เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการด้านการเกษตร (Young Smart Farmer)

1.4.3 ผู้ประกอบการด้านธุรกิจเกษตรอัจฉริยะ

1.4.4 อาจารย์นักวิจัย และนักวิชาการในสาขาวิชาวิศวกรรมฟาร์มอัจฉริยะและสาขาอื่นๆ ที่มีพื้นฐาน

วิชาการที่ใกล้เคียงกัน

1.5 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และ

คณิตศาสตร์ หรือรับผู้สําเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) สาขาช่างอุตสาหกรรม หรือ

เทียบเท่า