โทร 044-233000 ต่อ 5296

1) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)

1.1 ปรัชญา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร เป็นหลักสูตรที่รวมสหวิชาการศาสตร์ ทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ธุรกิจและการตลาด ที่ถูกหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียวกับวิทยาการทางการเกษตรอย่างกลมกลืน ซึ่งโครงสร้างหลักสูตรนำไปสู่การผลิตบัณฑิตที่มีทักษะ และความเชี่ยวชาญทางด้านการเกษตร และสามารถต่อยอดการสร้างธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรได้ ความโดดเด่นของรายวิชาจะประกอบไปด้วยการรวมโครงสร้างทีมีทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน เพื่อยกระดับศักยภาพ เน้นการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ด้านธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร

1.2 ความสำคัญ

          หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร เป็นหลักสูตรที่มุ่งให้ การศึกษาและส่งเสริมความรู้เพื่อการประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรสมัยใหม่ ที่มีการใช้องค์ ความรู้จากสหวิชาชีพให้เกิดนวัตกรรมและเทคโนโลยี องค์ความรู้ด้านการตลาดมาต่อยอดเพื่อให้เกิดธุรกิจ ด้านการเกษตร และมุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์จริงในการเรียน โดยมีการร่วมมือกับสถานประกอบการ หรือภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นฐานในการผลิตบัณฑิตที่มีสมรรถนะและศักยภาพสูงให้สามารถพัฒนาต่อ ยอดและยกระดับผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นสินค้าที่มีมูลค่า เนื่องจาก อุตสาหกรรมการเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่สำคัญของประเทศ ที่สร้าง รายได้ให้แก่ประเทศ ทั้งภาคแรงงาน ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุม ประชากรจำนวน มาก นอกจากนี้ผลผลิตทางการเกษตรเป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ต้องผลิตวัตถุดิบในการผลิตอาหารสำหรับ มนุษย์ ความสะอาดและความปลอดภัยจึงเป็นสิ่งสำคัญ และยังส่งเสริมความรู้เพื่อการประกอบวิชาชีพที่ เกี่ยวข้องกับการเกษตรสมัยใหม่ที่มีการใช้องค์ความรู้จากสหวิชาชีพให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมการเกษตร อีก ทั้งยังสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้มาพัฒนาและอยู่ได้โดยการพึ่งพาตนเอง นำไปสู่การสร้างชุมชนที่เข้มแข็ง และสามารถดำรงชีพอยู่ได้อย่างยังยืน การกำหนดโครงสร้างหลักสูตรจึงได้คำนึงถึงเนื้อหาความรู้ที่จะเกิด ประโยชน์สูงสุด โดยการประยุกต์ความรู้ด้านธุรกิจ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานในสาขาต่างๆ และความรู้ด้านการ บริหารจัดการให้สามารถนําไปใช้ในการประกอบอาชีพต่อไป

1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.3.1 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจงานด้านนวัตกรรมการเกษตรและสามารถต่อ ยอดการสร้างธุรกิจที่เกี่ยวกับการเกษตรได้โดยมุ่งเน้นการเรียนรู้จากการฝึกทักษะจากประสบการณ์จริง เพื่อตอบสนองความต้องการของหน่วยงานราชการ เอกชน และสถานประกอบการ

1.3.2 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถคิดวิเคราะห์ โดยนำองค์ความรู้ ทางวิชาการที่ได้ไปประยุกต์ใช้เพื่อแก้ปัญหาในการทำงานอย่างเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม อีก ทั้งยังสามารถพัฒนาต่อยอดและยกระดับผลผลิตทางการเกษตรและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นให้เป็นสินค้าที่มี มูลค่าและสามารถประกอบธุรกิจส่วนตัวทางด้านการเกษตรได้

1.3.3 เพื่อผลิตบัณฑิตที่ปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ ด้วยหลักวิชาที่ได้มีการวางแผน ด้วย ความรอบคอบ รวดเร็ว ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

1.3.4 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม ระเบียบวินัย ปรับปรุงตนเองให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ ขยันหมั่นเพียร ซื่อสัตย์สุจริต และมีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาสังคม และเสริมสร้างเอกลักษณ์ของไทย

1.4 อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

1.4.1 ทำงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการเกษตรและธุรกิจการเกษตร

1.4.2 เจ้าหน้าที่งานตรวจสอบคุณภาพ และเจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิต

1.4.3 เจ้าของสมาร์ทฟาร์ม ทั้งขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อย

1.4.4 ประกอบธุรกิจส่วนตัว

1.4.5 รับราชการ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ผู้ช่วยวิจัย นักวิชาการในหน่วยงานราชการ

1.4.6 ศึกษาต่อในสาขาทางด้านเทคโนโลยีการเกษตรหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ในมหาวิทยาลัยทั้งใน

และต่างประเทศ

1.5 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 6) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

และคณิตศาสตร์ หรือรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า

2) หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมข้าว (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2563)

1.1 ปรัชญา

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมข้าว เป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นการสร้าง บัณฑิตที่มีศักยภาพในการประยุกต์ใช้องค์ความรู้สหสาขาวิชา เพื่อมุ่งการเป็นผู้ผลิตข้าว และผู้ประกอบการ รุ่นใหม่ มีความสามารถในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงคุณภาพข้าว และปรับประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม ข้าว แบบเกษตรแม่นยำสูง ให้สอดคล้องกับบริบทพื้นที่ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน

1.2 ความสำคัญ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดในประเทศไทย มีจังหวัดร้อยเอ็ดเพียงจังหวัดเดียวเท่านั้น ที่วิสัยทัศน์ของจังหวัดมีข้าวหอมมะลิเป็นยุทธศาสตร์หลักในการพัฒนาจังหวัด โดยจังหวัดร้อยเอ็ดมีพื้นที่ 5 ล้านไร่เศษ เป็นพื้นที่ทางการเกษตร 3,584,365 ไร่ โดยมีพื้นที่การปลูกข้าวจ้าวหอมมะลิ 105 ประมาณไม่ น้อยกว่า 1,400,000 ไร่ ทุ่งกุลาร้องไห้ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 5 จังหวัด โดยมีพื้นที่ร้อยละ 46 ตั้งอยู่ในเขต จังหวัดร้อยเอ็ด ถือว่าข้าวหอมมะลิเป็นส่วนหนึ่งของการดำรงชีวิต และเป็นรากฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญ มี อิทธิพลต่อวิถีชีวิต จารีตประเพณี และวัฒนธรรมของชาวจังหวัดร้อยเอ็ดสืบมา สืบเนื่องจากยุทธศาสตร์ของ จังหวัดร้อยเอ็ดดังกล่าว โครงการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตร้อยเอ็ด ณ ทุ่งกุลา ร้องไห้ ซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ ตำบลหินกอง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของ นโยบายดังกล่าว จึงได้เสนอเปิดหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมข้าวขึ้น ทั้งนี้เพื่อมุ่งเน้นการ ผลิตบัณฑิตที่มีความเชี่ยวชาญด้านการผลิตข้าว สามารถสร้างงานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่สอดรับ กับบริบทของท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อให้บัณฑิตที่จบออกไป สามารถรองรับการขยายตัวของนโยบายดังกล่าวตรงกับ ความต้องการของสังคม ผู้ประกอบการ นายจ้าง และตลาดแรงงานในอนาคต

1.3 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.3.1 เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต ข้าวทั้งกระบวนการ ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ที่มีทักษะในการปฏิบัติงาน สอดคล้องกับความต้องการ ของหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งในและต่างประเทศ

          1.3.2 เพื่อผลิตบัณฑิตให้สามารถ นำความรู้ทางวิชาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมการ ผลิตข้าวไปประยุกต์ใช้ ในพัฒนาชุมชนท้องถิ่น มีทักษะการคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบ มุ่งสู่การ พัฒนาอย่างยั่งยืน

1.3.3 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ และทักษะทางวิชาการที่สามารถวิจัยและพัฒนา ใน ระดับที่สูงขึ้นได้

          1.3.4 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะความสามารถด้านการสื่อสาร การคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และการจัดการสมัยใหม่

          1.3.5 เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีระเบียบวินัย คุณธรรมจริยธรรม ทางวิชาการ ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อการพัฒนาชุมชน

1.4 อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

          1.4.1 ผู้ประกอบการทางการเกษตร หรือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ที่ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในระบบ การปลูกข้าวอย่างมีประสิทธิภาพหรือ ผู้นำกลุ่ม หัวหน้ากลุ่มวิสาหกิจที่เกี่ยวข้อง

1.4.2 งานเอกชน เป็นนักวิชาการ นักวิจัย สารเคมี การส่งออกพืชผลเกษตร บริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ พืช การผลิตและจำหน่ายปุ๋ย เป็นต้น การดำเนินธุรกิจการส่งออกทางด้านเกษตร วางระบบการให้น้ำ หรือ พนักงานประจำบริษัทหรืองานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการเกษตร งานฝ่ายระบบ ตรวจสอบคุณภาพข้าว เป็นต้น

1.4.3 ประกอบธุรกิจส่วนตัว จัดจำหน่ายพันธุ์พืช เครื่องมือ อุปกรณ์ วัสดุและสารเคมีทางการ เกษตร การดำเนินการเพื่อการผลิตทางการเกษตร การจัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร การดำเนินธุรกิจ บริษัทจำหน่ายสารเคมีเพื่อการเกษตร นักวิจัยและนักพัฒนาเมล็ดพันธุ์ ผู้ผลิตและผู้จัดจำหน่ายเมล็ดพันธุ์ ข้าว หรือจัดตั้งบริษัทเพื่อให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำ รวมทั้งให้บริการในการกำจัดแมลงศัตรูพืช และ การผลิตปุ๋ยชีวภาพ

1.4.4 เจ้าหน้าที่งานตรวจสอบคุณภาพ เจ้าหน้าที่ประเมินการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice, GAP) และเจ้าหน้าที่ควบคุมการผลิต

1.4.5 ศึกษาต่อในสาขาทางด้านเทคโนโลยีการเกษตรหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง ในมหาวิทยาลัยทั้งใน และนอกประเทศ

1.5 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (ม. 6) กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

และคณิตศาสตร์ หรือรับผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) หรือเทียบเท่า