โทร 044-233000 ต่อ 5296

1) หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมสร้างสรรค์และการเป็นผู้ประกอบการ

>

1. ปรัชญา วัตถุประสงค์และผลลัพธ์การเรียนรู้

    1.1 ปรัชญาของหลักสูตร

         หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมสร้างสรรค์และการเป็นผู้ประกอบการ ได้มีการ จัดการเรียนการสอนภายใต้หลักปรัชญา “โดดเด่นงานศิลป์ออกแบบงานสร้างสรรค์ มีแนวคิด ผู้ประกอบการ” โดยมีการจัดการศึกษาที่ต่างจากเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา (Higher Education Sandbox) ด้วยการยกเว้นเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2565 ในข้อ 9 โครงสร้าง หลักสูตร โดยจัดการศึกษาในรูปแบบ Module ไม่แบ่งหมวดวิชา ซึ่งหมวดวิชาศึกษาทั่วไป หมวดวิชา เฉพาะ และหมวดวิชาเลือกเสรี จะบูรณาการไปในรายวิชาต่าง ๆ โดย Module รายวิชาในหลักสูตรนี้ยัง ไม่มีการใช้ในหลักสูตรอื่นมาก่อน เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตทางด้านศิลปะและการออกแบบ และส่งเสริมให้ ผู้เรียนมีแนวคิดความเป็นผู้ประกอบการที่สามารถขับเคลื่อน Soft Power ในอุตสาหกรรมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ของประเทศบนพื้นฐานความเป็นมืออาชีพที่มีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ ตลอดจน การพัฒนาตนเองด้วยทักษะทางวิชาชีพจนสามารถเป็นผู้ประกอบการ

    1.2 วัตถุประสงค์ของหลักสูตร

         1.2.1 เพื่อผลิตกำลังคนเฉพาะทางที่มีสมรรถนะทางด้านศิลปะและการออกแบบที่ ยอมรับของสถานประกอบการและกลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

         1.2.2 เพื่อมุ่งผลิตบัณฑิตที่เป็นผู้ประกอบการที่สามารถขับเคลื่อน Soft Power ใน อุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

    1.3 ชื่อหลักสูตร

         ภาษาไทย : หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมสร้างสรรค์และการเป็นผู้ประกอบการ

         ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Arts Program in Creative Innovation and Entrepreneurship

2. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา

    2.1 ชื่อเต็ม (ภาษาไทย) : ศิลปศาสตรบัณฑิต (นวัตกรรมสร้างสรรค์และการเป็น ผู้ประกอบการ)

                 (ภาษาอังกฤษ) : Bachelor of Arts (Creative Innovation and Entrepreneurship)

    2.2 ชื่อย่อ (ภาษาไทย) : ศศ.บ. (นวัตกรรมสร้างสรรค์และการเป็นผู้ประกอบการ) (ภาษาอังกฤษ) : B.A. (Creative Innovation and Entrepreneurship)

3. วิชาเอก ไม่มี

4. จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร ไม่น้อยกว่า 120 หน่วยกิต

5. รูปแบบของหลักสูตร

      - หลักสูตรระดับปริญญาตรี (3 ปี)

      - กลุ่มของหลักสูตร หลักสูตรปริญญาตรีทางวิชาการ

6. คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา

     รับผู้สำเร็จการศึกษาระดับ BTEC Level 3 สาขา Art and Design หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง หรือ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรพิจารณาแล้วว่ามีคุณสมบัติที่เหมาะสม 

7. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

     7.1 ผู้ประกอบการที่สามารถขับเคลื่อน Soft Power ในอุตสาหกรรมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของ ประเทศ ,Business developer, Innovation Manager, Enterprise Marketer

     7.2 บุคลากรผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมสร้างสรรค์ของหน่วยงานรัฐหรือเอกชน

     7.3 อาจารย์ นักวิจัย และนักวิชาการในสาขานวัตกรรมสร้างสรรค์และการเป็นผู้ประกอบการ และสาขาอื่นๆ ที่มีพื้นฐานวิชาที่ใกล้เคียง

     7.4 ด้าน Film ได้แก่ 3D Modeler,3D Animator, Actor, Animator, Art Director, Character Designer , Cinematographer, Film Director, Film Producer, Hair And Marke up Artist, Lighting Artist, Post Production Producer, Producer, Sound Designer, Storyboard Artist, Visual Effects Artist

     7.5 ด้าน Photography ได้แก่ Assistant Photographer ,Audio Visual Technician, Curator, Event Photographer, Photo Retouches, Photographer, Photography Instructor

     7.6 ด้าน Communications Designer เช่น Advertising Designer, Brand Designer, Content Developer, Designer Director, Frontend Developer, Graphic Designer, Graphic Illustrator, Packaging Designer, Industrial Designer, Freelance Graphic Designer 

     7.7 ด้าน Integrated Media ได้แก่ 3D Artist, 3D Designer, Digital Media Designer, Media Designer, User Experience Designer, User Interface Designer

     7.8 ด้าน Art ได้แก่ Art Curator, Art Designer, Art Teacher, Artist, Visual Artist, Visual Arts Teacher, Arts Administrator